สถาบัน(หนังสือ)

ที่มาของหนังสือ
หอสมุดตึก7 มหาวิทยาลัยรังสิต















สรุป
ชุมชนสลัมคลองเตย
ทัศนคติที่มีต่อชุมชนแอดอัด
เดิมทีชุมชนแออัดทุกเรียกว่าสลัม ซึ่งมาจากแหล่งเสื่อมโทรมของสภาพความเป็นอยู่ การที่เปลี่ยนแปลงการเรียกนั้นถือเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นมาจากประสบการณ์ของคนบางกลุ่ม ที่เริ่มศึกษาหาวิถีชีวิตของคนในชุมชนแออัดอย่างละเอียด ทำให้มีความคิดและแนวทางแก้ไขปัญหาแบบอื่นๆอีกด้วย  แต่เดิม ทัศนคติของชุมชนแออัดนั้นเป็นสิ่งที่เลวร้าย  นอกจากสภาพแวดล้องที่เสื่อมโทรมสกปรก ยังเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคและเป็นแหล่งอาชญากรรมรวมถึงการรวมเหล่าอาชญากรอีกด้วย วิธีการแก้ไขปัญหาโดยด่วนคือ จัดหาที่อยู่ใหม่ให้กับคนรายได้น้อย โดยสร้างอาคารแบบแฟลต แต่การแก้ไขโดยวิธีนี้ ไม่สามารถทำได้เพราะมีหลายสาเหตุประกอบกัน ดังนั้นการรื้อชุมชนแออัดแล้วสร้างอาคารแบบแฟลตให้ผู้มีรายได้น้อย เป็นเพียงการย้ายคนจากชุมชนแอดอัดแห้งหนึ่ง ไปเพิ่มจำนวนคนในชุนอีกแห่งหนึ่ง หรือ สร้างชุมชนแอดอัดใหม่ขึ้นมาเท่านั้น
ทัศนคติเดิมที่มองชุมชนแออัดจากภายนอกอย่างผิวเผิน เปรียบเทียบชุมชนเป็นเนื้อร้ายที่ต้องกำจัด คือบุคลจากภายนอกชุมชน ไม่ได้มีความเข้าใจถึงสภาพชีวิตและความเป็นอยู่
ทัศคติใหม่ เกิดขึ้นจากการศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนแออัดตลอดและประสบการณ์ที่ได้ไปทำงานใกล้ชิดกับคนในชุมชนแออัด จึงได้เข้าใจว่าชุมชนแออัดไม่ใช่สิ่งที่มีแต่ด้านร้ายที่ก่อให้เกิดแต่ผลเสีย เช่น อันตรายของสุขภาพ,ทรัพย์สิน เป็นต้น แต่ชุมชนแออัดมีหลายสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีรายได้น้อย ในการช่วยปรับตัวของผู้ที่อพยพมาจากชนบท สร้างความอบอุ่นให้กับผู้ที่มีรายได้น้อย ช่วยหางานและรายได้ซึ่งกันและกัน
การปรับปรุงชุมชนแออัด คือการพยามกำจัดสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อให้ชุมชนแออัดพ้นจากภาวะของการเป็นแหล่งเสื่อมโทรม

แหล่งอ้างอิง
ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์ , ดิเรก เต็งจำรูญ , ชลิต ทองปลิว , วรรณพร วิเชียร์วงษ์ และ บุญธรรม แย้มชื่น. สลัมปัญหาชีวิตและแนวทางแก้ไข. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2525

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

1.วิถีชีวิตในแต่ละวันของชาวคลองเตย

6.ปัญหาของเยาวชนในในชุมชน

2.ปัญหาที่ชาวคลองเตยเจอ